การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)    

     การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) เป็นการประยุกต์แนวคิดของการประเมินคุณธรรมการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity Assessment) ขององค์การต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ องค์การต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมือง (Anti-Corruption and Civil Rights Commission: ACRC) จากสาธารณรัฐเกาหลี บูรณาการเข้ากับดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยได้กำหนดเป็นกรอบแนวคิดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และสังเคราะห์เป็นดัชนีหลักที่สำคัญและจำเป็นในการประเมินโดยจำแนกดัชนีเป็นตัวชี้วัด ตัวชี้วัดย่อย ประเด็นในการสำรวจ   และแปลงไปสู่คำถามที่ใช้ในการสอบถามความคิดเห็นหรือรวบรวมจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานของหน่วยงาน

 
 

     การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) แบ่งเป็น 5 ดัชนี ดังนี้

1. ความโปร่งใส (Transparency) ประเมินจากความคิดเห็นของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐและจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence - Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของหน่วยงาน 

2. ความพร้อมรับผิด (Accountability) ประเมินจากความคิดเห็นของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ

3. คุณธรรมการให้บริการของหน่วยงาน (Integrity in Service Delivery) ประเมินจากการรับรู้ของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ

4. วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture) ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐและจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence - Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของหน่วยงาน

5. คุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity) ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน                      

 

การประเมินตามโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 แบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่                          

  1. แบบสำรวจความคิดเห็น Internal Integrity & Transparency Assessment (IIT)  โดยสุ่มสำรวจจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน                          
  2. แบบสำรวจความคิดเห็น External Integrity & Transparency Assessment (EIT) โดยสุ่มสำรวจจากผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงาน                                                   
  3. แบบสำรวจใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based Integrity & Transparency Assessment (EBIT)
 โดยประเมินตามแบบสำรวจใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based ที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 - 30 เมษายน 2560

ภาพรวมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ 85.18%

  - ปีงบประมาณา พ.ศ. 2560 การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา อยู่ในอันดับที่ 3 จาก 81 หน่วยงาน

(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 อยู่ในอันดับ 70 จาก 77 หน่วยงาน)

  - อยู่ในระดับ 5 ระดับ คือ มีระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานสูงมาก ซึ่งคะแนนดังกล่าวจะเป็นคะแนน ในส่วนของ ก.พ.ร. 5 : ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถาบัน

 

ดัชนี

ค่าน้ำหนัก

(ร้อยละ)

คะแนน

หลังถ่วงน้ำหนัก

ที่มา

ผู้มีส่วนได้

ส่วนเสีย

บุคลากร เอกสาร
1.ความโปร่งใส 26 23.38  
2.ความพร้อมรับผิด 18 15.11
3.ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน 22 20.22
4.วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร 16 11.25  
5.คุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน 18 15.22

 

กลุ่มงานแผนกลยุทธ์ทรัพยากรบุคคล