การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)    

     การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) เป็นการประยุกต์แนวคิดของการประเมินคุณธรรมการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity Assessment) ขององค์การต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ องค์การต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมือง (Anti-Corruption and Civil Rights Commission: ACRC) จากสาธารณรัฐเกาหลี บูรณาการเข้ากับดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยได้กำหนดเป็นกรอบแนวคิดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และสังเคราะห์เป็นดัชนีหลักที่สำคัญและจำเป็นในการประเมินโดยจำแนกดัชนีเป็นตัวชี้วัด ตัวชี้วัดย่อย ประเด็นในการสำรวจ และแปลงไปสู่คำถามที่ใช้ในการสอบถามความคิดเห็นหรือรวบรวมจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานของหน่วยงาน
                  
 
     การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) แบ่งเป็น 5 ดัชนี ดังนี้
1. ความโปร่งใส (Transparency) ประเมินจากความคิดเห็นของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐและจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence - Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของหน่วยงาน 
2. ความพร้อมรับผิด (Accountability) ประเมินจากความคิดเห็นของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ
3. คุณธรรมการให้บริการของหน่วยงาน (Integrity in Service Delivery) ประเมินจากการรับรู้ของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ
4. วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture) ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐและจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence - Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของหน่วยงาน
5. คุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity) ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน                      

 

 

การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy 

 ไม่รับของขวัญของกำนัล จากการปฏิบัติงาน

       เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุม 3002 ชั้น 3 อาคารนวมินทราธิราช กองบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ได้จัดกิจกรรม NIDA HR-Network ครั้งที่ 1 เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในค่านิยมใหม่ของสถาบัน คือ WISE  โดยได้รองศาสตราจารย์ ดร.ประพนธ์ สหพัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นผู้ให้ข้อมูลและอธิบายความหมายของค่านิยมแต่ละตัว โดยเฉพาะ I = Integrity ความซื่อตรง ที่เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคน ที่ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความเที่ยงตรงแลยุติธรรม ปฏิบัติงานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ถึงแม้ว่าในสังคมไทยจะมีธรรมเนียมนิยมในการมอบสิ่งของที่แสดงความระลึกถึงหรือเพื่อแสดงน้ำใจ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติงาน เราไม่ควรรับสิ่งของใด ๆ จากผู้มารับบริการ และได้นางสาวประภัสสร ประทุมนอก ผู้อำนวยการ กองกฎหมาย มาให้ความชัดเจนพร้อมนำเสนอกรณีตัวอย่างของการรับทรัพย์สิน ที่มาของ No Gift Policy ได้ถูกนำเสนอมาเพื่อเป็นการป้องกันการคอรัปชั่น คือ การไม่รับของขวัญและของกำนัล "จากการปฏิบัติงาน"ที่ต้องพึงระวังทั้งในขณะปฏิบัติงาน และหลังการปฏิบัติงาน ที่มีความสุ่มเสี่ยง 

 

 

 

 

 

การประเมินตามโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน

ของหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. แบบสำรวจความคิดเห็น Internal Integrity & Transparency Assessment (IIT) โดยสุ่มสำรวจจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน

2. แบบสำรวจความคิดเห็น External Integrity & Transparency Assessment (EIT) โดยสุ่มสำรวจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงาน

3. แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence - Based Integrity & Transparency Assessment (EBIT)

 

                                                              

โดยประเมินตามแบบสำรวจใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based                                         ที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม  - 30 เมษายน  ของปีถัดไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

NO GIFT POLICY